Category: General
-
ถ้าช่วยไปแล้วมันเนรคุณยังจะช่วยมั้ย
มันมีมนุษย์ที่ดูเหมือนจะไม่เนรคุณอยู่จริงหรือ อาการแบบไหนที่เรียกได้ว่าเนรคุณ หรือ กตัญญู การช่วยมันเป็นเรื่องของใคร การทวงบุญคุณมันอยู่ในสิ่งที่จำเป็นต้องทำหรือไม่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเหมาะสมกับที่จะอยู่ร่วมโลกกับคนหมู่มากเหล่านั้น โลกจัดสรรให้เรามาเจอทุกอย่างเพื่อให้เรารู้ว่าในใจเรายังคงติดค้างตรงไหนมีอะไรยังไงในทุกซอกมุม ในทุกๆ คนที่เจอ ในทุกกรณีทที่พบ คือ การเติบโตและเรียนรู้ในตัวเอง คนที่จะมีโอกาสในการเติบโต ตื่นรู้ได้ คือ คนที่มองเห็นภายในของตนเอง เข้าใจภายใน รู้จักความจริงแท้ในกายในใจตนเองแบบไม่เสแสร้ง เพราะคนส่วนมากแม้แต่กับตัวเองก็ยังตอแหลเลย ไม่สามารถรับได้ในสิ่งที่ตัวเองเป็น มันต้องหัดเลิกโกหกตัวเองก่อน ถึงจะค่อยๆ พัฒนาได้ ตัวอย่างเช่น บางคนเกิดมาเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างรุนแรง ตั้งแต่แรกกำเนิดแต่กลับถูกปล่อยผ่านมาเรื่อยๆ ตามวิถีของกรรม เพื่อทำให้มันเกิดอาการกรรมที่เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบตัวเองเรื่อยมา โทษแต่ว่าคนนั้นต้องให้ คนนี้ต้องจัดการ ลืมไปว่าตัวเองเอาแต่รับ สร้างวิธีการต่างๆ อย่างแยบยลเพื่อให้คนต่างๆ อยู่รอบตัว ชอบตัวเอง นินทาใส่ความ ยุแยงตีกัน เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์จากคนเหล่านั้น ไม่รู้เท่าทันสันดานตัวเอง ว่าเห็นแก่ตัวแค่ไหน ทำทุกอย่างเพื่อตัวเองล้วนๆ ที่ทำอะไรลงไปล้วนสร้างมวลกรรมใหม่เพิ่มอย่างไม่มีสิ้นสุด ตราบเท่าที่ยังเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ตราบนั้นก็ไม่มีวันสิ้นมวลกรรมเป็นแน่แท้ คนที่รู้เท่าทันคนแบบนี้ก็แค่ปล่อยผ่าน ดูอาการทางใจของตนเอง บางครั้งมันค้างอยู่ในใจในหัวเรา ก็ดูไปเรื่อยๆ อย่าไปทำอะไร ไม่ต้องแทรกแซง เมื่อตัวกรรมยังอยู่มันจะมีแรงสะเทือนอยู่เสมอ ถ้าเราแทรกแซงมันจะยิ่งแทงเราให้เห็นว่า เฮ้ย..มันไม่ใช่วิธีการจัดการที่ดีนะ หากยังมีกรรมต้องร่วมงาน […]
-
เจ้าฝรั่งแห่งสิเรียม
เมื่อพระเจ้าบุเรงนองมหาราช แห่งราชวงศ์ตองอู (Bayinnaung Kyawhtin Nawrahta พ.ศ.2059-2124) ทรงสวรรคต ด้วยอาการพระประชวร ขณะยกทัพไปตียะไข่ (Rakhine) อาณาจักรพม่าก็ก้าวสู่ความวุ่นวายและนำมาสู่สงครามภายในจากการแยกตัวของเมืองประเทศราชทั้งหลาย กษัตริย์พม่าผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากบุเรงนองคือ พระเจ้านันทบุเรง พระองค์ทรงอ่อนแอจนบรรดาประเทศราชประกาศแยกตัวเป็นอิสระ แม้กระทั่งกองทหารและชาวบ้านก็หลบลี้หนีหายจนอาณาจักรหงสาวดีที่เคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรแทบกลายเป็นเมืองร้าง ประกอบกับปัญหาการรุกรานของชาวยะไข่ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ ตั้งเป็น อาณาจักรอังวะ (Ava Kingdom) แม้ชาวยะไข่จะมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายเดียวกันกับชาวพม่า แต่กระนั้นชาวพม่าก็ยังมองชาวยะไข่ว่ามีนิสัยใจคอออกไปทางแขก เนื่องจากรัฐยะไข่นั้นตั้งอยู่ใกล้กับบังกลาเทศและอินเดียที่มีทั้งชาวมุสลิมและฮินดู อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน โดยอยู่ร่วมและใกล้ชิดกับชาวมุสลิม พม่าจึงมีโวหารเปรียบเปรยไว้ว่า “หากสู้แขกไม่ไหว ให้ถามพวกยะไข่” ทั้งนี้เนื่องจากชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ร่วมสังคมเดียวกับชาวมุสลิมได้ ชาวพม่ายังมองว่าชาวยะไข่นั้นไม่ค่อยจะยอมอ่อนข้อให้ผู้อื่นและร้ายจนพวกแขกก็ไม่กล้ามาตอแยด้วย กองทัพชาวยะไข่ โดยกษัตริย์ Min Razagyi จากอาณาจักรอาระกัน (Arakan) ได้บุกเข้ามาปล้นสะดมแล้วเผาเมืองโดยง่าย พวกยะไข่มีกองทัพที่เข้มแข็งและยังมีทหารรับจ้างเป็นชาวโปรุเกสที่เชี่ยวชาญการรบ เมื่อครั้นเคลื่อนพลมาหงสาวดีก็ตั้งกองทัพเรือที่เมืองสิเรียม บริเวณปากแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy) ครั้นเสร็จศึกสงคราม ก็ปูนบำเหน็จให้ทหารรับจ้างโปรตุเกสชื่อ ฟิลิป เดอ บริโต ยี นิโคเต (Philip de Brito Nicote, ค.ศ. […]